คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ดักแสงกับโรงเรือนอีแว้ป-Evap

อุปกรณ์ดักแสง (Light Trap)

 
 

เป็นอุปกรณ์ป้องกันแสงสว่างตามธรรมชาติ (Natural Light) จากดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาในโรงเรือน โดยเฉพาะโรงเรือนอีแว้ป (Evaporative Cooling House) แสงสว่างตามธรรมชาติ (Natural Light) สามารถส่องผ่านเข้ามาได้ ทางแผ่นคูลลิ่งแพด (Cooling Pad) และพัดลม ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากต่อการควบคุมแสงสว่างในโรงเรือน  จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดักแสง (Light Trap) เพื่อป้องกันไม่ให้แสงสว่างส่องผ่านไปได้ แต่ยอมให้ลมไหลผ่านไปได้โดยสะดวก ซึ่งเป็นสิ่งที่ค้านกันเองอยู่ในตัว โดยทั่วไปอุปกรณ์ดักแสง (Light Trap) ต้องมีประสิทธิภาพการป้องกันแสงที่ดี จึงมักทำให้มีความต้านทานการไหลของลม (Pressure Drop) สูง โดยเฉพาะบริเวณที่ติดตั้งพัดลม ทำให้มีค่าความกดดันอากาศต่าง (Different Pressure) สูงขึ้น อัตราการระบายอากาศจะลดลง ประมาณ 10 - 30 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบและวิธีการติดตั้งอุปกรณ์ดักแสง (Light Trap) นอกจากนั้น อุปกรณ์ดังกล่าวควรมีน้ำหนักเบา ติดตั้งและดูแลบำรุงรักษาง่าย มีประสิทธิภาพสูง และคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
 
            ปัญหาใหญ่ของการป้องกันแสงสว่างธรรมชาติ (Natural Light) ส่องผ่านเข้าโรงเรือนอยู่ที่บริเวณติดตั้งพัดลม โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งมีสภาวะอากาศแบบร้อนชื้น จึงต้องการอัตราระบายอากาศในโรงเรือนค่อนข้างสูง เพื่อใช้ประโยชน์จากความเย็นที่เกิดจากลม (Wind Chill Effect) ยิ่งใช้ความเร็วลมสูง ความกดดันอากาศต่าง (Different Pressure) ก็จะสูงมากขึ้น ประสิทธิภาพของพัดลมจะยิ่งต่ำลง ทั้งนี้ การออกแบบโรงเรือน อีแว้ป (Evaporative Cooling House)  ควรกำหนดให้ความกดดันอากาศต่าง (Different Pressure) มีค่าไม่เกิน 37.5 Pa (0.15 inH2O) เพื่อให้เหมาะสมกับประสิทธิภาพของพัดลมดูดอากาศแบบ Axial Fan ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ดังนั้น การคำนวณปริมาณลมในโรงเรือนจะต้องคำนึงถึงปริมาณลมรวมที่ใช้ได้จริงหลังจากติดตั้งอุปกรณ์ดักแสง (Light Trap) แล้ว โดยทั่วไปการติดตั้งและใช้งานอุปกรณ์ดักแสง (Light Trap) มี 2 วิธี ดังนี้

1. ใช้อุปกรณ์ดักแสง (Light Trap) ที่ติดตั้งกับพัดลมโดยตรง ส่วนใหญ่จะมีค่าความกดดันอากาศ (Pressure Drop) สูง ปริมาณลมที่ได้จะลดลงจากประสิทธิภาพเดิมของพัดลมประมาณ 15 - 30 % ดังนั้น ในการใช้งานจริง จึงต้องเพิ่มจำนวนพัดลมเพื่อชดเชยปริมาณลมที่ขาดหายไป ข้อดีคือ คำนวณและติดตั้งง่าย ข้อเสียคือ มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับไฟฟ้าสูงขึ้นมาก ตัวพัดลมและมอเตอร์อาจชำรุดเร็วหรือมีอายุการใช้งานสั้นกว่าปกติ เพราะต้องทำงานอยู่ภายใต้ ความกดดันอากาศ (Static Pressure) สูง ตลอดเวลา
2. ใช้อุปกรณ์ดักแสง (Light Trap) ที่ติดตั้งเป็นแบบกำแพงหรือผนัง มักมีค่าความกดดันอากาศ (Pressure Drop) ต่ำกว่าแบบแรก ปริมาณลมที่ไหลผ่านโรงเรือนจะลดลงประมาณ 10 - 20 % ดังนั้น จึงต้องคำนวณจำนวนพัดลม และแผ่นคูลลิ่งแพด (Cooling Pad) เพื่อชดเชยปริมาณลมที่ขาดหายไป โดยให้พัดลมทำงานอยู่ภายใต้ความดันอากาศต่าง (Different Pressure) ในเกณฑ์ที่กำหนดหรือยอมรับได้ ข้อดี ทำให้การใช้ไฟฟ้าไม่สูงจนเกินไป ข้อเสียคือ มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์และการติดตั้งสูง ต้องการพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์เป็นการเฉพาะจึงต้องมีการเตรียมการตั้งแต่การออกแบบ-ก่อสร้างโรงเรือน และควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ จึงจะได้ผลดี

 

 

CeLPad Dark®  ทางเลือกใหม่สำหรับอุปกรณ์ดักแสง (New Choice of Light Trap)

คูลลิ่งแพด
 

ปัจจุบันสามารถเลือกใช้แผ่นคูลลิ่งแพด  (CoolingPad) รุ่นใหม่ ซึ่งทำหน้าที่สองอย่างในเวลาเดียวกันคือเป็นทั้งแผ่นทำความเย็น (Cooling Pad) และอุปกรณ์ดักแสง (Light Trap) ในแผ่นเดียวกัน ซึ่งยังคงคุณสมบัติที่ดีของทั้งสองอุปกรณ์ในแผ่นเดียวกันได้อย่างลงตัว เป็นนวัตกรรมใหม่ของ บริษัท ฮิวเทค (เอเชีย) จำกัด มีชื่อทางการค้าว่า CeLPad Dark® ข้อดีของแผ่นคูลลิ่งแพด (Cooling Pad)  รุ่นนี้คือ มีค่าความกดดันอากาศ (Pressure Drop) ต่ำ ในขณะที่มีประสิทธิภาพการทำความเย็นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ คือ อยู่ระหว่างรุ่น CeLPad® #0790, Flute 45x45° กับรุ่น CeLPad® #0760, Flute 15x45° ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน สามารถนำ CeLPad Dark® ในขนาดที่เท่ากันไปติดตั้งแทน CeLPad® รุ่นที่ใช้อยู่ได้ทันที โดยไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงอุปกรณ์การติดตั้งแต่อย่างใด นอกจากนั้น ยังสามารถนำ CeLPad Dark® ความหนา 100 mm มาดัดแปลงทำเป็น Light Trap แบบกำแพงหรือผนัง เพื่อใช้ป้องกันแสงสว่างจากพัดลม ทั้งนี้ ควรติดตั้งตามคำแนะนำของ บริษัท ฮิวเทค (เอเชีย) จำกัด เพราะการใช้เทคนิคการติดตั้งที่ถูกต้อง จะทำให้ความกดดันอากาศ (Pressure Drop) โดยรวม มีค่าต่ำลงอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ มีประสิทธิภาพในการดักแสงสว่างสูง และคุ้มค่าในการใช้งานมากกว่า การใช้อุปกรณ์แบบเดิม ๆ  



 

 

 



         



 

 

Visitors: 151,226