วิธีล้างทำความสะอาดคูลลิ่งแพด

คูลลิ่งแพด

การดูแล และบำรุงรักษา Cooling Pad

 

1. น้ำที่ไหลผ่าน Cooling Pad ควรมีค่า pH 6 – 8   และมีความกระด้าง ไม่เกิน 100 ppm as CaCO3 ในกรณีที่น้ำมีความกระด้างสูงกว่า 300 ppm as CaCO3 ควรพิจารณาการบำบัดน้ำ หรือจัดหาน้ำจากแหล่งอื่น

2. ควรทำการถ่ายน้ำทิ้ง (Bleed–off) อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมีความเข้มข้นของสารละลายสูงเกินไป จนทำให้เกิดตะกรันหินปูน และมีสภาพด่าง (Alkalinity)สูง ซึ่งอาจทำให้เยื่อกระดาษเสียหาย และคุณภาพเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

3. ไม่ควรใช้ ยาฆ่าเชื้อ หรือสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็น Oxidizing Agent เพราะจะทำลายเยื่อกระดาษได้ เช่นสารประกอบคลอรีน และเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น แต่ถ้าจำเป็น ให้ใช้ได้ในอัตราไม่เกิน 1 – 2 ppm และไม่ควรใช้สารเคมีที่ทำให้ ค่า pH ของ น้ำเปลี่ยนแปลงไป ต่ำกว่า 6 หรือสูงกว่า 8

4. ห้ามใช้ สารประกอบทองแดง (Copper Compound) ในการกำจัด เชื้อรา ตะไคร่น้ำ หรือสาหร่าย เพราะสารในกลุ่มนี้ สามารถทำลาย เยื่อกระดาษ และโลหะพวก เหล็ก, แสตนเลส และอลูมิเนียม ได้

5. ควรใช้ มุ้งไนลอนป้องกัน Cooling Pad จากแมลง เศษไม้ ใบหญ้า หรือดอกหญ้า ไม่ให้มาติดกับ Cooling Pad โดยขึงคลุม ให้ห่างจาก Cooling Pad โดยรอบประมาณ 1 เมตร

6. ล้าง ทำความสะอาด Cooling Pad เป็นประจำ และควรปิดน้ำแล้วปล่อยให้ Cooling Pad แห้งสนิท ไม่น้อยกว่า 2 – 3 ชั่วโมง ทุกวัน (ในรอบ 24 ชั่วโมง) เพื่อตัดวงจรชีวิต ของสิ่งมีชีวิต เช่น เชื้อรา, ตะไคร่น้ำ และสาหร่าย เป็นต้น

7. ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรค ในถังพักน้ำ เป็นประจำ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง          

8. ควรปิดถังน้ำ และท่อน้ำ ไม่ให้แสงแดดส่องผ่านไปถึงน้ำได้ เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นของ สาหร่าย และตะไคร่น้ำ

9. ระวังอย่าให้ Cooling Pad สัมผัสกับ อาหารสัตว์, ปุ๋ย, มูลสัตว์, ผงซักฟอก, สารประกอบฟอสเฟต หรือสารอินทรีต่างๆ ถ้ามีการสัมผัสกับสารเหล่านี้ ควรรีบล้างออกให้หมด เพราะอาจเป็นเหตุให้เกิด เชื้อรา และแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เยื้อกระดาษเน่า เปื่อย และถ้าพบว่ามีกระดาษเน่าเปื่อย ให้รีบตัดส่วนที่เน่าทิ้ง เพื่อป้องกันการลุกลามต่อไป

10. ไม่ควรเก็บ อาหารสัตว์ และไข่ ไว้ใกล้ เยื่อกระดาษ เพราะมันสามารถดูดกลิ่นได้ดี  ซึ่งอาจชักนำให้หนูเข้ามากัดทำลายได้

 

Visitors: 151,344