การผลิตไก่เนื้อเชิงอุตสาหกรรม ตอนที่ 8
การผลิตไก่เนื้อเชิงอุตสาหกรรม (ตอนที่ 8) |
5.1 ทำบันทึกการรับลูกไก่เข้าเลี้ยง ให้บันทึก วัน เวลา ที่ลูกไก่มาถึงฟาร์ม และจำนวนลูกไก่ทั้งหมดที่นำเข้ากกโดยให้นับรวมจำนวนไก่แถมด้วย
5.2 ทำบันทึกการเลี้ยงไก่รายวัน ให้บันทึก จำนวนอาหารที่ให้ไก่กิน และจำนวนไก่ตายและคัดทิ้ง ในแต่ละวัน รวมทั้งบันทึกการทำงานพิเศษ เช่น การให้ เกลือแร่ วิตามิน ยา วัคซีน หรือการจัดการอื่นใดที่เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ เป็นต้น
5.3 ทำบันทึกการปลดหรือขายไก่ ให้บันทึก จำนวนและน้ำหนักไก่เป็นทั้งหมด ทั้งที่จับขายไปและให้รวมจำนวนและน้ำหนักไก่ ป่วย บาดเจ็บ และพิการ ที่ยังมีชีวิตด้วย เพื่อใช้ในการคำนวณหาอัตราการเลี้ยงรอดมีหน่วยเป็น % และน้ำหนักไก่เฉลี่ยมีหน่วยเป็น ก.ก./ตัว มีสูตรคำนวณ ดังนี้ อัตราการเลี้ยงรอด = จำนวนไก่เป็นทั้งหมด ÷ จำนวนลูกไก่ทั้งหมด x 100 น้ำหนักไก่เฉลี่ย = น้ำหนักไก่เป็นทั้งหมด ÷ จำนวนไก่เป็นทั้งหมด
5.4 ทำบันทึกน้ำหนักอาหารไก่ที่ใช้ทั้งหมด สำหรับการเลี้ยงไก่เท่านั้น โดยไม่รวมอาหารที่เหลือ และให้คำนวณหาอัตราอาหารแลกเนื้อ (FCR) เป็นค่าที่ไม่มีหน่วย มีสูตรคำนวณ ดังนี้
อัตราอาหารแลกเนื้อ (FCR) = น้ำหนักไก่เป็นทั้งหมด ÷ น้ำหนักอาหารไก่ที่ใช้ทั้งหมด
5.5 การบันทึก ระยะเวลาการเลี้ยงไก่ ให้นับตั้งแต่วันที่ลูกไก่เข้ากกจนถึงวันที่จับไก่ขายวันสุดท้าย (กรณที่มีการจับไก่หลายวัน)
5.6 ทำการคำนวณ ประสิทธิภาพการผลิตไก่เนื้อ (European Efficiency Factor หรือ EEF) ซึ่งวงการเลี้ยงไก่เนื้อในประเทศไทยรู้จักกันในชื่อ Broiler Performance Index หรือ Performance Index (PI หรือ PI score) เป็นวิธีการที่เอาข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตไก่เนื้อทั้งหมดมาประกอบกันเป็นสูตรคำนวณ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตไก่เนื้อจากโรงเรือน และ/หรือ ฟาร์ม ที่ทำการผลิตไก่เนื้อขนาด (น้ำหนัก) เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน PI Score เป็นค่าที่ไม่มีหน่วย มีสูตรคำนวณ ดังนี้
PI Score = น้ำหนักไก่เฉลี่ย xอัตราการเลี้ยงรอด ÷ ระยะเวลาการเลี้ยง x FCR x 100
ตัวอย่าง การเลี้ยงไก่เนื้อได้น้ำหนักเฉลี่ย 2.50 ก.ก. ได้ค่า FCR= 1.65 ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงไก่ 40 วันและมีอัตราการเลี้ยงรอด 97% สามารถคำนวณเป็นค่า PI score ได้ดังนี้
การคำนวณ PI score = 2.50x97 ÷ 40x 1.65 x 100 = 367.42
หมายเหตุ การเลี้ยงไก่เนื้อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีน้ำหนักไก่เฉลี่ยสูงขึ้น จะต้องใช้ระยะเวลาการเลี้ยงไก่นานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่า FCR ของฝูงไก่สูงขึ้น เพราะค่า FCR จะสูงขึ้นตามอายุของไก่ และอัตราการเลี้ยงรอดจะลดต่ำลง เพราะระยะเวลาที่ยาวนานออกไป จะทำให้ฝูงไก่มีโอกาสสูญเสียมากขึ้น จึงทำให้ PI Score การผลิตของฝูงไก่นั้น มีค่าต่ำลง |
![]() |
เอกสารอ้างอิง 1. Arbor Acres plus, Broiler Nutrition Specifications, 2014, www.en.aviagen.com 2. Arbor Acres plus, Broiler Performance Objectives, 2014, www.en.aviagen.com 3. Cobb 500, Broiler Performance & Nutrition Supplement, www.cobb-vantress.com 4. Deep, A. et. al. “Effect of light intensity on broiler production, processing characteristics and welfare” Poultry Science 89:2326-2333, Nov. 2010 5. Donald, J., “Poultry House Ventilation Basics: Understanding how to do it right” Circular ANR-956, Extension Agricultural Engineer, The Alabama Cooperative Extension Service, Auburn University, Alabama, USA 6. Hubbard, Broiler Management Manual Fast Growth, www.hubbardbreeders.com 7. Hubbard Classic, Performance Summary, Broiler, www.hubbardbreeders.com 8. Karen Schwean-Lardner and Dr. Hank Classen, “Lighting for Broilers”, copyright 2010 Aviagen, www.en.aviagen.com 9. Mark Clements “Global chicken meat exports to increase 3 percent in 2018” Poultry International Jan.2018, www.WATTAgNet.com 10. ROSS 308 BROILER, Nutrition Specifications 2014, www.en.aviagen.com 11. ROSS 308 BROILER, Performance Objectives 2014, www.en.aviagen.com |