การผลิตไก่เนื้อเชิงอุตสาหกรรม ตอนที่ 3

ไก่เนื้อ

การผลิตไก่เนื้อเชิงอุตสาหกรรม (ตอนที่ 3)

 
หลักการผลิตไก่เนื้อเชิงอุตสาหกรรม

การผลิตไก่เนื้อเชิงอุตสาหกรรม เป็นงานด้านสัตวบาล ที่ต้องมีการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมในกระบวนการผลิตและเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม เพื่อให้ไก่มีสุขภาพดี สมบูรณ์ แข็งแรง และมีสถานะปลอดโรคอยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้ไก่มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ให้ผลิตผลที่ดี และคุ้มค่าในการลงทุน

 

ปัจจัยขั้นพื้นฐานสำหรับการผลิตไก่เนื้อเชิงอุตสาหกรรมในปัจจุบัน มีดังนี้

            1.    พันธุ์ไก่ที่ใช้ในการผลิต (Broiler Breed) ปัจจุบันการผลิตไก่เนื้อเชิงอุตสาหกรรมนิยมใช้พันธุ์ไก่ลูกผสม (Hybrid) หรือพันธุ์ไก่ทางการค้า ซึ่งต้องนำพันธุ์ปู่ ย่า ตา ยาย (Grand Parent Stock) จากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์เป็นไก่พ่อ-แม่พันธุ์ (Parent Stock) และผลิต็น็ลูกไก่เนื้อทางการค้า (Commercial Broiler) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไก่ขนสีขาว หนังและแข้งสีเหลือง มีความสามารถในการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง ใช้เวลาการเลี้ยงสั้นประมาณ 36 - 43 วัน (ขึ้นอยู่กับขนาดไก่เนื้อที่ต้องการ) และมีความคุ้มค่าในการผลิต อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ทำกิจการไก่ครบวงจร มักเป็นผู้เลือกใช้พันธุ์ไก่เนื้อทางการค้า ซึ่งอาจมีพันธุ์เดียวหรือหลายพันธุ์ก็ได้ ในประเทศไทยมีพันธุ์ไก่เนื้อที่นิยมใช้กัน เช่น Arbor Acres, Ross, Cobb และ Hubbard เป็นต้น เนื่องจากพันธุ์ไก่เหล่านี้ เป็นไก่ลูกผสม (Hybrid) ที่ผู้ผลิตพันธุ์ไก่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ ดังนั้น จึงต้องมีการดูแลและจัดการอย่างถูกต้อง ผู้ผลิตพันธุ์ไก่มักมี เอกสารคู่มือการเลี้ยงการจัดการแจกให้ด้วย ซึ่งผู้ผลิตไก่เนื้ออาจขอได้จากบริษัทผู้รับประกันหรือบริษัทที่ขายลูกไก่เนื้อ หรืออาจค้นหาหนังสือคู่มือเหล่านี้ได้จาก website ของบริษัทผู้ผลิตพันธุ์ไก่เนื้อได้โดยตรง ผู้เลี้ยงไก่เนื้อควรศึกษาทำความเข้าใจข้อกำหนดและวิธีการต่างๆเป็นอย่างดีก่อนการเลี้ยงไก่ เพราะวิทยาการด้านการผลิตไก่เนื้ออาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง


อนึ่ง ถ้าท่านเป็นผู้เลือกใช้พันธุ์ไก่เนื้อด้วยตนเอง ควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการผลิตของไก่เนื้อพันธุ์ต่างๆจากเอกสาร การสอบถามผู้มีประสบการณ์ที่เคยเลี้ยงไก่พันธุ์นั้นมาก่อน หรือแม้แต่การทดลองเลี้ยงไก่เนื้อเพื่อหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ เพราะยังมีปัจจจัยที่เกี่ยวข้องอีกหลายประการ ที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตไก่เนื้อเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานหรือคำแนะนำของผู้ผลิตพันธุ์ไก่ ตารางข้างล่างนี้ เป็นเพียงตัวอย่างการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตของไก่เนื้อบางพันธุ์เท่านั้น 




2.  อาหารไก่เนื้อ (Broiler Feed) เป็นสิ่งสำคัญควบคู่ไปกับพันธุ์ไก่เนื้อทางการค้า เพราะพันธุ์ไก่เหล่านี้ได้ถูกปรับปรุงทางพันธุกรรมให้มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง จึงมีการตอบสนองต่อคุณภาพอาหารอย่างมาก กล่าวคือ ส่วนประกอบทางโภชนะในอาหารจะมีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตของไก่เนื้อโดยตรง ซึ่งไก่แต่ละพันธุ์อาจมีความแตกต่างกันบ้างตามพันธุกรรม โดยเฉพาะความต้องการทางโภชนะสำหรับไก่เนื้อแต่ละช่วงอายุ เช่น พลังงาน โปรตีน กรดอมิโน ไขมัน กรดไขมันจำเป็น วิตามิน และแร่ธาตุ เป็นต้น ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ ผู้ผลิตพันธุ์ไก่เนื้อแต่ละรายได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้สูตรอาหารไก่ที่เหมาะสมกับพันธุ์ไก่ของเขาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ดังนั้น การผลิตอาหารไก่เนื้อควรทำตามคำแนะนำดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้ไก่เนื้อสามารถเจริญเติบโตตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตพันธุ์ไก่กำหนดไว้ ตารางข้างล่างนี้ เป็นเพียงตัวอย่างคำแนะนำทางโภชนะที่ตัดมาให้ดูเพียงบางส่วน เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างทางโภชนะของอาหารไก่เนื้อแต่ละพันธุ์ อย่างไรก็ตาม มีสิ่งสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ อาหารที่ให้ไก่กินแต่ละวัน ควรเป็นอาหารใหม่ที่ปราศจากการปลอมปน และควรระวังอย่าให้มีสิ่งเจือปนที่อาจเป็นพิษ และมีการผสมยา และ/หรือ สารเคมีต้องห้ามตามกฎข้อบังคับของทางราชการและตามข้อตกลงกับลูกค้า




ตารางเปรียบเทียบคำแนะนำทางโภชนะอาหารไก่เนื้อ (เฉพาะบางส่วน) ของผู้ผลิตพันธุ์ไก่เนื้อ 4 ราย


Visitors: 155,815