ภาวะความเครียดของสัตว์จากความร้อน (Heat Stress)
|
ภาวะความเครียดของสัตว์จากความร้อน (Heat Stress) |
หมายถึง สภาวะความเครียดของสัตว์ ที่เกิดจากการที่สัตว์ ไม่สามารถระบายความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม ทำให้ อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงของ ระบบ Hormone ความสมดุลในร่างกายสูญเสียไป ก่อให้เกิดผลเสียต่อ ระบบการสร้างภูมิคุ้มโรค การให้ผลผลิต และการเจริญเติบโต หรือสัตว์อาจถึงแก่ความตาย ถ้าเกิดความเครียด อย่างรุนแรง |
กลไกการระบายความร้อนของสัตว์ |
สัตว์มีกลไกในการระบายความร้อนออกจากตัว 2 กระบวนการ คือ 1. กระบวนการระบายความร้อน ออกทางผิวหนังโดยตรง ด้วยวิธีการนำ หรือพาความร้อน ไปสู่อากาศที่อยู่โดยรอบตัวสัตว์ ซึ่งมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิของตัวสัตว์ ถ้าอุณหภูมิของอากาศสูง ขึ้น การระบายความร้อนของสัตว์ด้วยกระบวนการนี้ จะทำได้ยากขึ้น 2. กระบวนการระบายความร้อน ด้วยวิธีการระเหยน้ำ เป็นกลไกการระบายความร้อนตามธรรมชาติของสัตว์ โดยอาศัยหลักการถ่ายเทความร้อนแฝงที่เกิดจากการเปลี่ยนสถานะของน้ำ จากของ เหลวไปเป็นก๊าซ ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง ซึ่งจะเกิดขึ้นที่ปอด โดยการหายใจออก หรือเกิดขึ้นที่ผิวหนัง โดยการระเหยน้ำของเหงื่อ ถ้าสภาวะแวดล้อมที่สัตว์อยู่อาศัย มีความชื้นสัมพัทธ์สูง จะทำให้ประสิทธิ ภาพในการระเหยน้ำลดลง การระบายความร้อนของสัตว์ด้วยกระบวนการนี้ จะทำได้ยากขึ้น จะเห็นว่า ไม่ว่า อุณหภูมิ หรือความชื้นสัมพัทธ์ ของอากาศที่สูงขึ้น จะมีผลต่อความสามารถในการระบายความร้อนของสัตว์ เหมือนกัน ผลก็คือ จะเกิด ความเครียดจากความร้อน เช่นเดียวกัน |
ค่าดรรชนีความเครียดจากความร้อน (Heat Stress Index) |
หมายถึง ค่าดรรชนี ที่เกิดจากผลบวกของ อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ของสภาวะอากาศแวดล้อมที่สัตว์อยู่อาศัย เพื่อบอกให้ทราบถึงความเหมาะสมของสภาวะอากาศ ที่มีผลต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ ค่าดรรชนีความเครียดจากความร้อน ไม่ควรเกิน 160 ถ้าเกิน แสดงว่า สภาวะอากาศในขณะนั้น เริ่มจะไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์แล้ว และยิ่งมีค่าสูงกว่า 160 มากเท่าใด สภาวะอากาศ ก็จะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นเท่านั้น |
ตาราง แสดงค่า Heat Stress Index ที่ค่าอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ต่างๆกัน |
จะลดปัญหา ความเครียดจากความร้อน ได้อย่างไร? |
ทำได้โดย ลดอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ของอากาศลง “พูดง่าย ......... แต่ทำอยาก” แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ |
หลักคิด ในการแก้ปัญหา ความเครียดจากความร้อน |
ใช้ปริมาณลม ในการระบายถ่ายเทอากาศ ในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ให้มากพอ หรือเหมาะสม ตามชนิด และขนาดของสัตว์ เพื่อให้มีการระบายถ่ายเท ความร้อน และความชื้น ออกจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อากาศที่ไหลเข้ามาทดแทน จะต้องมี อุณหภูมิ และความชื้น ที่ไม่สูงจนเกินไปนัก แต่ถ้ามีอุณหภูมิสูง ก็ต้องมีกรรมวิธีในการลดอุณหภูมิของอากาศลง เช่นให้อากาศไหลผ่านการระเหยน้ำ ซึ่งจะเกิดการถ่ายเทความร้อน ตามหลักการของความร้อนแฝง ทำให้อุณหภูมิของอากาศลดลง หลังจากนั้น ควรบังคับลม ให้มีความเร็วตามต้องการ ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของอากาศลดลงได้อีก ตามหลักการเคลื่อนที่ของความร้อน ผลก็คือ จะทำให้สภาพแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่ ดีขึ้น |
กราฟ แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความเร็วลม กับอุณหภูมิของอากาศ |
สภาพอากาศเช่นไร? จึงจะถือว่าเหมาะสม สภาพอากาศ ที่มีค่า Heat Stress Index ไม่เกิน 160 หรือต่างกันไม่มากนัก
ในทางปฏิบัติ ... จะทำอย่างไร? ระบบ Evap. (Evaporative Cooling System) ช่วยท่านได้
แต่ต้องไม่ลืมว่า ... !!! ในทางปฏิบัติ ยังมีข้อจำกัด อยู่อีกมาก ... !!! ดังนั้น ในการทำ ระบบ Evap. จึงควรปรึกษากับ “ผู้เชี่ยวชาญ” เท่านั้น เพื่อผลประโยชน์ ของท่านเอง
โดย นายศิขัณฑ์ พงษพิพัฒน์ |